Diecast Car Model (รถโมเดลเหล็ก) “ของเล่น” ที่ “ไม่ใช่ของเล่น” อีกต่อไป Ep5. ฉบับ Hot Wheels (ฮอทวีล)

ใน Ep5. นี้เป็น Ep สุดท้ายของแบรนด์ Hot Wheels (ฮอทวีล) ผู้สร้างกระแสคลั่งของสาวกรถโมเดลเหล็ก Diecast Car Model สเกล 1:64 ซึ่งในตอนนี้ถือเป็นจุดต่ำสุดของเส้นทางด้วยมรสุมต่างๆ ที่พัดเข้ามา ก่อนจะตั้งหลัก และยืนหยัดมาจนถึงปัจจุบัน พร้อมการถือกำเนิดรุ่นหายากที่นักสะสมต้องตามล่า

Diecast Car Model, Hot Wheels, รถโมเดลเหล็ก, ฮอทวีล, T-Hunt, Treasure Hunt Series, Super Treasure Hunts

มรสุมหลัก ผลักดันสู่ความสำเร็จของ Hot Wheels ณ ปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามในปี 1972 และ 1973 ถือได้ว่าเป็นปีที่เดินหน้าได้ช้าที่สุดของ ฮอทวีล ก็ว่าได้ เพราะมีการผลิตรถออกมาเพียงแค่ 7 รุ่น ในปี 72 และ 24 รุ่นในปี 73 และมีเพียง 3 รุ่นเท่านั้นที่เป็นโมเดลใหม่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร จนมาถึงในปี 1974 จึงได้มีการเปิดตัวซีรี่ส์ Flying Colors ที่มีดีไซน์ และสีสันสวยงามกว่า ทั้งยังวิ่งได้เร็วขึ้นกว่าโมเดลแรกๆ

ตามมาด้วยในปี 1977 ที่มีการยกเลิกสายการผลิตซีรี่ส์ Redline เนื่องจากปัญหาด้านค่าใช้จ่าย รวมไปถึงรถแนว Hot Rods ที่มีการลดจำนวนผลิตลง เนื่องจากกระแสนิยมนั้นหันไปทางรถยนต์ และรถปิคอัพที่มีความสมจริง สมจังมากกว่า นอกจากนี้ มรสุมของ ฮอทวีล ก็ยังไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะในช่วงยุค 1978 – 1988 ก็ต้องประสบกับปัญหาค่าใช้จ่าย จากต้นทุนการผลิตอีกระลอกเช่นกัน

Diecast Car Model, Hot Wheels, รถโมเดลเหล็ก, ฮอทวีล, T-Hunt, Treasure Hunt Series, Super Treasure Hunts

แม้ในปี 1983 จะกู้วิกฤตด้วยซีรี่ส์ที่น่าสนใจอย่าง Real Riders ที่โดดเด่นด้วยล้อยาง แต่ก็ยังมีอายุการผลิตที่สั้นอยู่ดีจากปัญหาเดิม จนท้ายที่สุดปลายยุค 80 จึงกลายเป็นแพคเกจกระดาษสีฟ้า และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้นั่นเอง พร้อมด้วยโมเดลต่างๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมาอย่างหลากหลาย และกลายเป็นที่นิยมของคนทุกวัย ไม่ใช่แค่เฉพาะเด็กๆ หรือวัยรุ่นเท่านั้น

Diecast Car Model, Hot Wheels, รถโมเดลเหล็ก, ฮอทวีล, T-Hunt, Treasure Hunt Series, Super Treasure Hunts

Treasure Hunt Series ชั้นบนสุดแห่งพีระมิด สำหรับนักสะสม

โดยนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ฮอทวีล มีซีรีส์พิเศษผลิตออกมาแล้วมากมาย เพื่อเอาใจนักสะสม ชนิดที่เรียกว่าหลักหลายร้อยรุ่นก็ว่าได้ ซึ่งในจำนวนทั้งหมดนั้นมีรุ่นพิเศษที่เหล่านักสะสมต่างก็ต้องหามาครอบครองให้ได้ โดยโมเดลพิเศษเหล่านี้มีชื่อว่า Treasure Hunt Series หรือ T-Hunt นั่นเอง

ซึ่งชุด Treasure Hunt Series หรือ T-Hunt นั้นเริ่มเปิดตัวขึ้นใน Hot Wheels ชุดปี 1995 และจะมีรุ่นที่ได้รับการประทับตราว่าเป็น T-Hunt เพียง 12 รุ่นเท่านั้นในแต่ละปี (ก่อนจะเพิ่มมาเป็น 15 รุ่นในปี 2011) โดยจะทำการปล่อยออกมาเพียงแค่เดือนละรุ่น หรือ 2 รุ่นเท่านั้น และทั่วโลกจะมีทั้งหมดเพียงแค่ 10,000 คันที่เป็น T-Hunt จึงทำให้ นี่เป็นอีกรุ่นที่เป็นที่ต้องการของเหล่านักสะสมมากเช่นกัน

ส่วนจุดสังเกตของชุด Treasure Hunt Series หรือ T-Hunt ก็คือ กระดาษแพคเกจซึ่งจะมีแถบสีเขียว หรือบางทีอาจจะมีรูปหีบสมบัติอยู่ จนกระทั่งในปี 2013 จึงได้ยกเลิกไป และเปลี่ยนไปใช้สัญลักษณ์ “เปลวไฟในวงกลม” หรือ “Flame in a Circle Logo” แทน ซึ่งจะประทับอยู่บนตัวรถ หรือบนกระดาษแพคเกจ

ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยนใหม่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนไปใช้ล้อที่เป็นวัสดุ “ยาง” นับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า Super Treasure Hunts และนี่คือรุ่นพิเศษที่มีมูลค่าการซื้อ-ขายในกลุ่มนักสะสมด้วยราคาที่แทบไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะในรถบางรุ่นที่เป็นกระแส ไม่ว่าจะเป็นรถซีรี่ส์ปีเก่า หรือปีใหม่ๆ ก็ตาม

ซึ่งนี่แหละครับ คือ สิ่งที่ผมอยากจะบอกว่า Diecast Car Model (รถโมเดลเหล็ก) จากค่าย Hot Wheels (ฮอทวีล) นั้นได้กลายเป็น “ของเล่น” ที่ “ไม่ใช่ของเล่น” อีกต่อไปแล้ว ณ ปัจจุบัน แต่กลายเป็นผู้ใหญ่ และกลุ่มคนบ้ารถต่างหาก ที่ต่างก็หลงรักกันชนิดที่เรียกว่า “หัวปักหัวปำ” กันเลยทีเดียว

Diecast Car Model, Hot Wheels, รถโมเดลเหล็ก, ฮอทวีล, T-Hunt, Treasure Hunt Series, Super Treasure Hunts

บทความที่เกี่ยวข้องกับ Diecast Car Model