ไป ทำใบขับขี่ ไปให้สนุก แบบไม่ต้องตื่นเต้น

การ ทำใบขับขี่ หรือ การขอใบอนุญาตขับขี่ หลายคนอาจจะกลัวการ สอบไม่ผ่าน ซึ่งขั้นตอนแบบหลักๆก็จะมี การทดสอบสมรรถภาพของคุณว่าคุณอ่ะเป็นคนแบบปกติหรือเปล่า จากนั้น ก็ไปเข้าห้องอบรม ห้องนี้แหละข้อสอบข้อเขียนอยู่ในนี้ทั้งนั้น และจบที่การสอบปฏิบัติ ไม่ต้องตื่นเต้น ซึ่งหากตั้งใจนิดเดียว ย้ำนะ ว่านิดเดียว ยังไงก็ได้ใบขับขี่มานอนกอด และรอพี่ๆเค้าเรียกดูตามท้องถนนได้เลย

โดยการขอใบอนุญาตใบปัจจุบัน จะใช้เวลาอย่างน้อย 2 วันทำการ แบ่งเป็น ภาค 1 วัน และปฏิบัติอีก 1 วัน แต่มันจะนานตรงจองคิวเข้าอบรมล่วงหน้าที่ขนส่งก่อนนี่แหละอาจจะเป็นเดือนกว่าจะได้ไปทำ ไม่รู้จะยอดฮิตอะไรนักหนา

มาเข้าเรื่องราวแบบเป็นจริงเป็นจังกันบ้าง โดยเริ่มจาก การขอใบอนุญาตรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวแบ่งเป็น

1.หลักฐานประกอบคำขอ
-บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
-ใบรับรองแพทย์ไม่เกิน 1 เดือน (ใบรับรองแพทย์จากคลินิกสามารถนำมายื่นได้) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป ใบรับรองแพทย์จะต้องเป็นไปตามรูปแบบมาตรฐานที่แพทย์สภารับรอง
2.การอบรม กรณีขอใบอนุญาตครั้งแรก ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรในวิชาดังต่อไปนี้ เป็นเวลา 5 ชั่วโมง (บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป)
3.การขอใบอนุญาตขับรถ สามารถยื่นเรื่องและได้รับใบอนุญาต ประมาณ 2 วันทำการ สามารถยื่นหลักฐาน ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย อบรม 5 ชั่วโมง สอบข้อเขียน ชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาตกรณีสอบผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการติดต่อขอใช้บริการของประชาชน สามารถสอบถามระยะเวลาที่ชัดเจนกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง ซึ่งการดำเนินการขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่
4.อัตราค่าธรรมเนียม
-ค่าคำขอ 5 บาท
-ค่าใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว 100 บาท ต่อ 2 ปี (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 เป็นต้นไป)

หมายเหตุ
ยกเว้นค่าธรรมเนียมการถ่ายรูปแบบสมาร์ทการ์ด 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป
หากมีการแก้ไขรายการในใบอนุญาตขับรถ เสียค่าธรรมเนียม เพิ่ม 50 บาท
5.ท่าที่ใช้ในการการทดสอบขับรถจักรยานยนต์ท่าที่
1 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรท่าที่
2 การขับรถทรงตัวบนทางแคบท่าที่
3 การขับรถผ่านทางโค้งรัศมีแคบรูปตัวแซดท่าที่
4 การขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวารูปตัวเอสท่าที่
5 การขับรถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
*การทดสอบขับรถจักรยานยนต์ ให้ทดสอบขับรถ จำนวน 3 ท่า คือ ท่าที่ 1 เป็นท่าบังคับ และเลือกทดสอบอีก 2 ท่าตามความเหมาะสมของสนามทดสอบ

ต่อด้วย การขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 2 ปี
1.หลักฐานประกอบคำขอ
-บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
-ใบรับรองแพทย์ไม่เกิน 1 เดือน (ใบรับรองแพทย์จากคลินิกสามารถนำมายื่นได้) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป ใบรับรองแพทย์จะต้องเป็นไปตามรูปแบบมาตรฐานที่แพทย์สภารับรอง
2.การอบรม กรณีขอใบอนุญาตครั้งแรก ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรในวิชาดังต่อไปนี้ เป็นเวลา 5 ชั่วโมง (บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป)
3.การขอใบอนุญาตขับรถ สามารถยื่นเรื่องและได้รับใบอนุญาต ประมาณ 2 วันทำการ สามารถยื่นหลักฐาน ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย อบรม 5 ชั่วโมง สอบข้อเขียน ชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาตกรณีสอบผ่าน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการติดต่อขอใช้บริการของประชาชน สามารถสอบถามระยะเวลาที่ชัดเจนกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง ซึ่งการดำเนินการขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่
4.อัตราค่าธรรมเนียม
-ค่าคำขอ ฉบับละ 5 บาท
-ค่าใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว ฉบับละ 200 บาท ต่อ 2 ปี (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 เป็นต้นไป)

หมายเหตุ
ยกเว้นค่าธรรมเนียมการถ่ายรูปแบบสมาร์ทการ์ด 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป
หากมีการแก้ไขรายการในใบอนุญาตขับรถ เสียค่าธรรมเนียม เพิ่ม 50 บาท
5.ท่าที่ใช้ในการทดสอบขับรถยนต์
ท่าที่ 1 การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง ให้เลือกทดสอบแบบใดแบบหนึ่ง
ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนถนนลาด (สำหรับรถเกียร์ธรรมดา)
ท่าที่ 5 การกลับรถ
ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
ท่าที่ 7 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
*การทดสอบขับรถยนต์ ให้ทดสอบขับรถ จำนวน 3 ท่า คือ ท่าที่ 1 และท่าที่ 2 เป็นท่าบังคับ และเลือกทดสอบอีก 1 ท่าตามความเหมาะสมของสนามทดสอบ ยกเว้นรถเกียร์อัตโนมัติไม่ใช้ท่าที่ 4

การทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย

การทดสอบปฏิกิริยา ให้ทดสอบความสามารถในการใช้เบรกเท้ารวม 3 ครั้ง หากสามารถเหยียบเบรกได้ในระยะเวลาน้อยกว่า หรือเท่ากับ 0.75 วินาที 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ

การทดสอบสายตา

– ทดสอบสายตาทางกว้าง ถ้าสามารถมองเห็นทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เป็นมุมกว้างข้างละ 75 องศา 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
– ทดสอบสายตาทางลึก ให้ทดสอบการมองเห็นในระยะ 2.50 – 3.50 เมตร รวม 3 ครั้ง หากผลการทดสอบห่างจากจุดที่กำหนดไม่เกินกว่า 1 นิ้ว 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
– ทดสอบสายตาบอดสี ให้ดูสีเขียว สีแดง และสีเหลืองจากเครื่องทดสอบหรือแผ่นภาพทดสอบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือเห็นชอบ โดยอยู่ห่างจากแผ่นภาพทดสอบในระดับสายตาระยะไม่น้อยกว่า 3 เมตร แล้วอ่านสีตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดสีละ 3 ครั้ง หากอ่านได้ถูกต้อง 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ

การทดสอบขับรถ

1.การทดสอบขับรถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย เว้นแต่เป็นรถยนต์ที่ไม่ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตามที่กฎหมายกำหนด
2.การทดสอบขับรถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกนิรภัย
การทดสอบข้อเขียน
ในการสอบภาคทฤษฎี เพิ่มจำนวนข้อสอบเป็น 50 ข้อ ผ่านเกณฑ์การสอบร้อยละ 100 (หรือต้องทำได้ 50 ข้อ) จากเดิมข้อสอบ 50 ข้อเกณฑ์ผ่านเพียงร้อยละ 90 (หรือต้องทำได้ 45 ข้อ) โดยข้อสอบแบบใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 1,000 ข้อ ใช้หมุนเวียนออกสอบในแต่ละรอบ

สำหรับการจองคิวอบรมในการขอรับใบขับขี่ตามพ.ร.บ.รถยนต์ ชนิดชั่วคราว (ขอใหม่)
1.ส่วนกลางสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (ฝั่งตรงข้ามตลาดนัดจตุจักร)
– เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ได้ไม่เกิน 100 คน/วัน
– ผู้ที่ประสงค์จองคิวทางโทรศัพท์ ติดต่อหมายเลข 0-2271-8888 ต่อ 4201-4 หรือสอบถาม 1584
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 (ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล)
– เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ได้ไม่เกิน 100 คน/วัน
– ผู้ที่ประสงค์จองคิวทางโทรศัพท์ ติดต่อหมายเลข 0-2415-7337 ต่อ 204-205
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 (ถนนสวนผัก ตลิ่งชัน)
– เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ได้ไม่เกิน 80 คน/วัน
– ผู้ที่ประสงค์จองคิวทางโทรศัพท์ ติดต่อหมายเลข 0-2433-4773
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (ถนนสุขุมวิท ตรงข้ามซอยสุขุมวิท 62/1)
– เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ได้ไม่เกิน 100 คน/วัน
– ผู้ที่ประสงค์จองคิวทางโทรศัพท์ ติดต่อหมายเลข 0-2333-0035
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 (ถนนสุวินทวงศ์ หนองจอก)
– เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ได้ไม่เกิน 100 คน/วัน
– ผู้ที่ประสงค์จองคิวทางโทรศัพท์ ติดต่อหมายเลข 0-2543-5512

2.ส่วนภูมิภาคสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด
ส่วนภูมิภาคสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัดจะเปิดรับคำขอตามความเหมาะสม ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้นๆ ผู้ที่ประสงค์ขอรับใบขับขี่ควรติดต่อจองคิวล่วงหน้า โดยสามารถมาจองด้วยตนเองพร้อมเอกสาร ได้แก่ บัตรประชาชนพร้อมสำเนา ใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกายในวันเดียวกัน และจะออกใบนัดเพื่อให้เข้ารับการอบรมตามวัน เวลา ที่ระบุ ตามลำดับ โดยต้องมาลงทะเบียนก่อนเวลา 09.00 น. เพื่อเข้ารับการอบรม ทดสอบข้อเขียน ซึ่งผู้ที่สอบผ่านแล้วจะเข้ารับการอบรม ทดสอบข้อเขียน ซึ่งผู้ที่สอบผ่านแล้ว จะเข้ารับการทดสอบขับรถในวันทำการถัดไป หากผ่านการทดสอบจะได้รับใบขับขี่ทันที (ต้องดำเนินการภายใน 90 วัน)

ผู้ที่ประสงค์ขอรับใบขับขี่ควรติดต่อจองคิวล่วงหน้า โดยสามารถมาจองด้วยตนเองพร้อมเอกสาร ดังนี้
1.บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนา
2.ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 1 เดือน (30 วัน)

สำหรับผู้ที่จองคิวทางโทรศัพท์ ต้องมาลงทะเบียนในวันที่นัดอบรมก่อนเวลา 08.00 น. เพื่อทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกายก่อนเข้ารับการอบรม จากนั้น จึงดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

อ่านไปอ่านมาก็อย่าเพิ่งมึนกับตัวหนังสือ เอาเป็นว่า ทำตัวตัวสบายๆ ไม่ผ่านก็สอบใหม่แค่นั้นเอง ชิวๆ ยกตัวอย่างจากผมเอง ที่เป็นทั้งนักแข่งรถ ผู้ฝึกสอนการขับขี่แบบสปอร์ต ยังสอบข้อเขียนไม่ผ่านเลย ก็มันไม่เคยเจอในชีวิตประจำวันนี่หว่า เอาอะไรมาออกข้อสอบเนี้ยยยยย!!!!