วิธีการ ซื้อ และ ใช้ Easy Pass กับ M-Pass

เมื่อขับขี่รถยนต์เข้าช่องด่วน หรือ ช่องทางพิเศษ ที่ต้องมีการเสียค่าผ่านทาง หลายคนมักจะมองตาปริบๆ เมื่อเห็นรถยนต์หลายต่อหลายคัน วิ่งผ่านช่องที่ใช้ Easy Pass หรือ M-Pass กันอย่างฉลุย โดยที่ไม่ต้องต่อแถวให้ยาวเหยียด ไหนคนที่ไม่มีเจ้าบัตร 2 แบบนี้ ยังจะต้องสาละวนหา เงินสด ไว้จ่ายค่าผ่านทางอีก เราไปดูกันว่าเค้ามี วิธีการ ซื้อหาเจ้าบัตรที่ว่านี้ได้จากไหน และใช้อย่างไร ไม่ให้เป็นภาระคันข้างหลัง รวมถึงการเติมเงินเมื่อ เงินร่อยหรอ

รู้จักกันก่อน Easy Pass คืออะไร M-Pass มาอย่างไร

เรามักจะติดปากกับการเรียก อีซี่พาส มากกว่า เอ็มพาส ก็เพราะว่า อีซี่พาส ถือกำเนิดขึ้นมาก่อน เนื่องจากถูกนำมาใช้กับทางด่วนที่อยู่ข้างบน หรือลอยฟ้า ส่วน เอ็มพาส เป็นอีกผู้ให้บริการที่ถูกนำมาใช้กับทางด่วนมอเตอร์เวย์ ชลบุรี หรือวงแหวนกาญจนา
แต่ 2 เจ้านี้ ก็เชื่อมต่อกัน ไม่ว่าจะถือบัตรไหน ก็สามารถใช้ได้ทั้งทางพิเศษลอยฟ้า หรือจะเข้าวงแหวน มอเตอร์เวย์ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกของผู้ใช้รถ

บัตรผ่านทางอัตโนมัติทั้ง 2 แบบ ซื้อ ได้ที่ไหน

สำหรับบัตรอัตโนมัติทั้ง 2 ชนิดนี้ เมื่อเวลาไปซื้อ ผู้จำหน่ายจะให้เรามา 2 อย่างด้วยกันคือ บัตรพลาสติกแข็ง ขนาดเท่านามบัตร หรือเท่ากับบัตร ATM แต่บางกว่า ไว้สำหรับ เติมเงิน และ TAG สำหรับติดหน้ากระจกรถ เพื่อเป็นตัวรับสัญญาณเวลาวิ่งผ่านช่องอัตโนมัติ

1. Easy Pass เป็นบัตรที่ได้รับความนิยมมากกว่า ผู้คนเรียกติดปากมากกว่า สามารถหาซื้อได้ที่

  • อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางเฉลิมมหานคร / ฉลองรัช / บูรพาวิถี ได้ทุกด่านของทางด่วนที่ว่านี้
  • ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และทางพิเศษศรีรัช บางด่าน
  • สำนักงานใหญ่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ถนนพหลโยธิน
  • จุดพักรถ ปั๊มน้ำมัน ปตท บางนา (ขาออก)
  • ศูนย์บริการลูกค้า บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM อโศกดินแดง

2. M-Pass เป็นบัตรที่ถือกำเนิดจากทางพิเศษมอเตอร์เวย์ ชลบุรี วงแหวนฯ ได้รับความนิยมน้อยกว่ามาก แต่ถ้าใช้ เอ็มพาส ก็สามารถขึ้นทางด่วนลอยฟ้าได้เหมือนกัน โดยจะมีจำหน่ายที่ ธนาคารกรุงไทย 120 สาขา ในเขตกรุงเทพฯ ปทุมธานี อยุธยา ชลบุรี ระยอง และนครนายก

วิธีการ ใช้บัตรผ่านอัตโนมัติ ทั้ง 2 แบบ

สำหรับคนที่สนใจจะมีบัตรทั้ง 2 ชนิด ไว้ใช้ ครั้งแรก จะต้องจ่ายเงิน เพื่อให้ได้บัตร และ TAG ติดหน้ารถ ในราคาขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยไม่ต้องเสีย ค่าประกันความเสียหาย (แบบเดียวกับมัดจำอุปกรณ์) เนื่องจากถูกยกเลิกไปตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว

ฉะนั้น คนที่เริ่มอยากจะมี (ใช้) ครั้งแรก จึงจ่ายเพียงแค่ 1,000 บาท จากนั้นเมื่อจะเติมเงินเข้ากระเป๋า (เข้าบัตรนั่นแหละ) ต้องเติมขั้นต่ำ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท โดยกำหนดยอดคงเหลือในบัตร (พูดง่ายๆ ว่าขนาดกระเป๋าจุได้) ไม่เกิน 9,999 บาท สำหรับอีซี่พาส ส่วน เอ็มพาส ให้มากกว่าบาทนึง คือ 10,000 บาท

ช่องทางการเติมเงิน

  1. อีซีพาส จะสะดวกกว่า เนื่องจากมีหลายช่องทางให้เติมเงิน เช่น ตู้ ATM, อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง, แอปพลิเคชั่นบนมือถือ โดยครอบคลุมเกือบทุกธนาคาร, เคาเตอร์เซอร์วิส 7-11 / โลตัส, แอปพลิเคชั่น Wallet by True Money และตัดเงินผ่านบัญชีธนาคาร เมื่อยอดเหลือต่ำกว่า 300 บาท โดยสมัครผ่าน www.easytopup.co.th ซึ่งมีค่าธรรมเนียมการเติม ครั้งละ 20 บาท ส่วนการเติมผ่านธนาคารช่องทางอื่นที่กล่าวมาข้างต้น มีค่าธรรมเนียมเริ่มต้น 5 บาท ส่วนเคาเตอร์เซอร์วิส สูงสุด 10 บาท
  2. เอ็มพาส มีช่องทางเดียวคือ ธนาคารกรุงไทย แต่จะเลือกช่องทางย่อยของธนาคาร ก็เช่น ที่สาขาทำการ, ที่ตู้ ATM กรุงไทย, กรุงไทยเน็ตแบ้งค์กิ้ง และที่ตู้บุญเติม (ยกเว้นตู้หน้า 7-11, โลตัส และ BTS)

สำหรับคำแนะนำจากเรา หากอยากจะมีบัตรผ่านทางพิเศษอัตโนมัติไว้ใช้ ควรพิจารณาจากความสะดวกสบายในการเติมเงินเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยให้ชีวิติง่ายขึ้น โดยการติด TAG ควรจะหันด้านที่แปะกาว 2 หน้าออก มิเช่นนั้นเซนเซอร์ที่หน้าช่องทางอัตโนมัติจะไม่อ่าน ซึ่งจะเป็นภาระให้กับคันหลังที่ตามมา


ตารางราคารถยนต์ล่าสุด

AUDI | Aston Martin | BMW | Chevrolet | CITROEN |  DFSKFerrari | Honda (ฮอนด้า) |