“ดันราง” … เทคนิคง่ายๆ สำหรับสาย Diesel Performance

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป พร้อมกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด คงทำให้ปฏิเสธไมได้ว่า เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel) ในปัจจุบันนั้นมีประสิทธิภาพที่เหนือชั้นในหลายๆ ด้าน จนสามารถพูดได้ว่ากลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของผู้บริโภคชาวไทยเลยทีเดียว โดยเฉพาะในเรื่อง “สมรรถนะ” ที่ต่อยอดได้อย่างไม่ยุ่งยาก จากจุดเริ่มต้นง่ายๆ กับคำว่า “ดันราง”

Diesel

สำหรับเทคนิค “ดันราง”  กล่าวได้ว่าเป็น “วิธีลัด” ของสาวก ดีเซล คอมมอนเรล ในสายปิคอัพ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ซึ่งโดยทางเทคนิคแล้ว การ “ดันราง” ก็คือ “การเพิ่มแรงดันในระบบฉีดจ่ายน้ำมันคอมมอนเรล (Common Rail) ด้วยการติดตั้งตัวช่วยอย่าง “กล่องดันราง” เพิ่มเติมเข้าไป

Diesel

โดย “กล่องดันราง” ที่ว่าจะมีหน้าที่หลักๆ ในการ “ส่งสัญญาณหลอก” ไปยังกล่องควบคุม หรือ กล่อง ECU หลัก ด้วยความหมาย คือ “แรงดันที่ต่ำกว่าปกติ” แต่จริงๆ แล้ว “ปกติ” เพราะงั้นจาก “ความเข้าใจผิด” ของกล่อง ECU หลัก จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการสั่งงานไปยัง ระบบฉีดจ่ายน้ำมันคอมมอนเรล ให้สร้างแรงดันให้กลับมาสู่ค่ามาตรฐานปกติ ซึ่งในความเป็นจริงก็คือ มีค่าแรงดันที่มากกว่าปกตินั่นเอง

Diesel

เช่น สมมุติว่าค่าแรงดันปกติอยู่ที่ 100% แต่ “กล่องดันราง” ส่งสัญญาณหลอกกล่อง ECU หลัก ว่ามีค่าแรงดันอยู่ที่ 80% เพราะกล่อง ECU หลัก ก็จะสั่งระบบฉีดจ่ายน้ำมันคอมมอนเรล ให้ทำการสร้างแรงดันเพิ่มขึ้นอีก 20% เพื่อให้เต็ม 100% (ทั้งที่จริงๆ ก็ 100%) และจากเงื่อนไขดังกล่าว ผลก็คือ ค่าแรงดันของระบบฉีดจ่ายน้ำมันคอมมอนเรล ได้ถูกปรับขึ้นไปที่ 120% โดยปริยาย

Diesel

ซึ่งนอกจากสมรรถนะที่มีการตอบสนองได้ดีขึ้นแล้ว การประหยัดน้ำมันยังเป็นข้อดีที่ตามมาอีกด้วยเช่นกัน เนื่องจากเมื่อค่าแรงดันในระบบสูงขึ้น ส่งผลให้การฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยปริมาณเท่าเดิมทำได้แรงกว่า ต่อเนื่องไปถึงทำให้การเผาไหม้ดีขึ้น จนสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เครื่องยนต์ได้มากขึ้นอีกด้วย

Diesel

ฉะนั้นเลยทำให้ แม้จะใช้คันเร่งปกติ หรือ น้อยกว่าปกติ ก็สามารถเรียกใช้พละกำลังได้อย่างทันใจ ด้วยการตอบสนองที่เร็วขึ้น จนไม่ต้อง “เค้น” กันให้มากนัก ทั้งยังส่งผลไปถึงเรื่องของการประหยัดน้ำมันที่ใกล้เคียง หรือ มากกว่ามาตรฐาน เนื่องจากปริมาณการฉีดจ่ายเชื้อเพลิงเท่าเดิม เพราะสิ่งที่เพิมเติมคือ “แรงดัน” เท่านั้น

Diesel