ออกกำลัง (Exercises) แบบไหน  เหมาะกับสไตล์ของคุณ ::: ตอนที่ 1 ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ(cardio)

ออกกำลังกาย

ปัจจุบันนี้  เทรนด์การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพดี  และปั้นหุ่นให้แลดูฟิต แอนด์ เฟิร์ม นั้น  เป็นอะไรที่ล้ำนำมากๆ  ใครๆ ก็อยากออกกำลังกาย แต่.. อะไรคือการออกกำลังแบบคาร์ดิโอ(cardio) อะไรคือเวทเทรนนิ่ง (Weight Training) ไหนจะบาลานซ์ซิ่ง (Balance Exercises) อีก … โอ๊ยย  มึนแท้!!

ออกกำลัง (Exercises) แบบไหน  เหมาะกับสไตล์ของคุณ

มาค่ะ! มาดามจะจัดซีรี่ย์เกี่ยวกับการออกกำลังกาย พาคุณไปทำความรู้จักกับการออกกำลังกายแต่ละประเภท เชื่อว่าหลังจากที่ได้รู้จักและทำความเข้าใจแล้ว ทุกท่านก็จะสามารถเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะกับจริตของตัวเองได้ตามสะดวก .. ฟิตๆ เฟิร์มๆ  สู้ๆๆๆๆ คร๊าาาา!

การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardiovascular Exercise)

Exercises

การออกกำลังกายแบบ คาร์ดิโอ(cardio) ก็คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั่นเอง ซึ่งโดยความหมายของคำว่า คาร์ดิโอ หมายถึง หัวใจ ที่ใช้คำนี้เพราะ การออกกำลังกายรูปแบบนี้จะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่เน้นการใช้พลังจากมัดกล้ามเนื้อในระดับรุนแรง แต่มุ่งเน้นไปที่การขยับเขยื้อนร่างกายซึ่งมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้น ซึ่งเมื่อออกกำลังกายแบบนี้จนถึงระดับคาร์ดิโอ การเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น 60% -85% เมื่อเทียบกับอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ซึ่งตัวอย่างประเภทของการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น เต้นแอโรบิก, วิ่ง, ปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ เป็นต้น

ความจริงแล้วการออกกำลังกายแบบ คาร์ดิโอ(cardio) มีรูปแบบมากมาย รวมไปถึงการเล่นกีฬาต่างๆ ด้วย โดยข้อสังเกตว่าเป็นการออกกำลังกายชนิด คาร์ดิโอ(cardio) หรือไม่นั้น ให้ดูจากลักษณะการดำเนินกิจกรรมและสภาพร่างกาย ซึ่งมีดังนี้

  • เป็นการออกกำลังที่ใช้พลังระดับเบา หรือปานกลางแบบต่อเนื่อง เช่น  การวิ่งออกระยะไกล , แต่ถ้าเป็นการวิ่งระยะสั้น เช่น วิ่ง 100 เมตร แล้วหยุด จะไม่ถือว่าเป็นการออกกำลังชนิดคาร์ดิโอ  เพราะใช้กำลังเต็มที่ในคราวเดียวโดยไม่มีความต่อเนื่องของระยะเวลาที่นานพอ
  •  เป็นการออกกำลังที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
  • ร่างกายจะต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  เมื่อออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ  สังเกตจากการหายใจที่จะถี่ขึ้น

Exercise

ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบ คาร์ดิโอ(cardio) อย่างสม่ำเสมอ

  • ระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจรวมถึงปอด แข็งแรงขึ้น
  • กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจดีขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง
  • การไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น ความดันโลหิตลดลง
  • จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้อ๊อกซิเจนถูกส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่ายกายได้ดีอย่างทั่วถึง
  • สุขภาพจิตดีขึ้น ลดความเครียด โรคซึมเศร้า
  • ลดอัตราการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น หัวใจ , เบาหวาน
  • เพิ่มการจัดเก็บโมเลกุลพลังงาน เช่น ไขมัน , คาร์โบไฮเดรต ในกล้ามเนื้อทำให้ทนทานขึ้น
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อในการดึงไขมันมาใช้ในการออกกำลังกาย
  • เพิ่มความเร็วในการเมตาบอลิซึม ซึ่งก็คือการสังเคราะห์พลังงานจากอาหารไปเก็บไว้และนำไปใช้
  • เพิ่มความเร็วในการคืนสภาพกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายแบบรุนแรง

Exercises

สำหรับผู้ป่วย ผู้ที่มีโรคเกี่ยวข้องกับความดันโลหิต หรือผู้มีโรคประจำตัวบางอย่าง ควรทำการปรึกษาและได้รับการอนุญาตจากแพทย์ก่อนการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ(cardio) เพราะการออกกำลังกายในลักษณะนี้หนักๆ มักที่จะทำให้เกิดความดันสูง

Exercises

การออกกำลังกายแบบ คาร์ดิโอ(cardio) เป็นการช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินที่จำเป็น ซึ่งจะต้องทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ถ้าหากทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอประมาณ 1 เดือน   ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้อย่างชัดเจนค่ะ

 

 

ที่มาของภาพ : www.google.com