มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศเกียรติคุณ ผลงานวิชาการดีเด่น รางวัล TTF Award ประจำปี พ.ศ. 2553

พลตำรวจเอกเภา สารสิน ประธาน มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย ศ.ดร.สมคิด เลิศไพทูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมมอบรางวัล TTF Award ประจำปี 2553 เพื่อประกาศเกียรติคุณ และสนับสนุนผลงานทางวิชาการของนักวิชาการไทย เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
 
การพิจารณารางวัล TTF Award เริ่มดำเนินการครั้งแรกปี พ.ศ.2538 โดย มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาในระดับสูง รวมทั้งสนับสนุนให้นักวิชาการสร้างสรรค์ผลงานด้านวิชาการ เพื่อยกระดับมาตรฐานงานวิชาการของไทยโดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมสังคมไทยให้เป็น "สังคมแห่งความรู้" ด้วยการประกาศเกียรติคุณยกย่องผลงานวิชาการในสาขาต่างๆ พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดพิมพ์ผลงานเพื่อเผยแพร่งานเขียนออกสู่สาธารณชน อันจะเป็นประโยชน์แก่นิสิต นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลทั่วไป
 
รางวัล TTF Award จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมผลงานวิชาการอันทรงคุณค่าจนถึงปี 2553 ทั้งสิ้น 32 เล่ม โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 มีผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณารางวัล จำนวนทั้งสิ้น 58 ผลงาน โดยแบ่งออกเป็น
 
ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 30 ผลงาน
 
ด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 23 ผลงาน
 
ด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ผลงาน
 
ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาผลงานวิชาการที่เห็นควรได้รับรางวัล TTF Award ประจำปี พ.ศ.2553 ดังนี้
 
1) รางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยประเภท "รางวัลเกียรติยศ"
 
(Toyota Thailand Foundation: Honorary Award)
 
เงินรางวัลสำหรับผู้แต่ง 150,000 บาทพร้อมโล่เกียรติยศ
 
ผลงานเรื่อง "ตะวันออก-ตะวันตก ใครสร้างโลกสมัยใหม่"
 
โดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
 
2) รางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย
 
ประเภท "ดีเด่น สาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์"
 
(Toyota Thailand Foundation : Social Science & Humanity Award)
 
เงินรางวัลสำหรับผู้แต่ง 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
 
ผลงานเรื่อง
 
"การละครตะวันตกสมัยคลาสสิก – สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา"
 
โดย ศาสตราจารย์ กุลวดี มกราภิรมย์
 
3) รางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย
 
ประเภท "ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์"
 
(Toyota Thailand Foundation: Science)
 
เงินรางวัลสำหรับผู้แต่ง 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
 
ผลงานเรื่อง
 
"การฆ่าตัวตาย การรักษา และการป้องกัน"
 
โดย รศ. นพ. มาโนช หล่อตระกูล
 
* หมายเหตุ : สาขาสิ่งแวดล้อม ไม่มีผลงานได้รับรางวัล
 
พลตำรวจเอกเภา สารสิน ประธานมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย กล่าวว่า "ในนามของมูลนิธิ โตโยต้าประเทศไทย ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะกรรมการ TTF Award ทุกท่านที่ให้เกียรติร่วมพิจารณาคัดสรรผลงานวิชาการดีเด่นมาโดยตลอด ทั้งนี้ รางวัล TTF Award เป็นอีกหนึ่งในความตั้งใจที่จะพัฒนาองค์ความรู้ของนักวิชาการไทย ในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อันทรงคุณค่า ด้วยความเชื่อมั่นว่า องค์ความรู้และภูมิปัญญาจากงานวิชาการเหล่านี้ จะเป็นมรดกทางปัญญาและเอื้อประโยชน์ให้เกิดการพัฒนาทางการศึกษา และนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน "
 
อนาคตสังคมไทย ความภูมิใจของเรา
 
____________________________________________
 
รางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ประจำปี 2553
 
(TTF AWARD 2010)
 
ความเป็นมา
 
รางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ.2538 โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมุ่งหวังที่จะส่งเสริมสังคมไทยให้เป็น "สังคมแห่งความรู้" ด้วยการประกาศเกียรติคุณยกย่องผลงานวิชาการในสาขาต่าง ๆ พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดพิมพ์ผลงาน เพื่อเผยแพร่งานเขียนออกสู่สาธารณชน อันจะเป็นประโยชน์แก่ นิสิต นักศึกษา อาจารย์นักวิชาการ ตลอดจนสาธารณชน เพื่อที่จะสามารถศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ ในวิทยาการใหม่อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
 
วัตถุประสงค์
 
เพื่อส่งเสริมการศึกษาในระดับสูง สนับสนุนนักวิชาการ สร้างสรรค์ผลงานวิชาการใหม่ ๆ รวมทั้งยกระดับมาตรฐานงานวิชาการไทย
 
ประเภทรางวัล
 
รางวัลเกียรติยศ : – สนับสนุนเงินรางวัลเป็นจำนวน 150,000 บาท พร้อมโล่ห์เกียรติยศ
 
– สนับสนุนค่าจัดพิมพ์เป็นจำนวน 50,000 บาท
 
รางวัลทั่วไป : – สนับสนุนเงินรางวัลเป็นจำนวน 100,000 บาท พร้อมโล่ห์เกียรติยศ
 
– สนับสนุนค่าจัดพิมพ์เป็นจำนวน 50,000 บาท
 
โดยแบ่งรางวัลเป็น 3 ประเภท ได้แก่
 
1. รางวัลด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
 
2. รางวัลด้านวิทยาศาสตร์
 
3. รางวัลด้านสิ่งแวดล้อม
 
รางวัล TTF Award จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมผลงานวิชาการอันทรงคุณค่าจนถึงปี 2553 ทั้งสิ้น 32 เล่ม โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 มีผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณารางวัล จำนวนทั้งสิ้น 58 ผลงาน โดยแบ่งออกเป็น
 
 
 ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 30 ผลงาน
 
 ด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 23 ผลงาน
 
 ด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ผลงาน
 
โดยคณะกรรมการได้พิจารณาผลงานวิชาการที่สมควรได้รับรางวัล TTF Award ประจำปี พ.ศ.2553 ดังนี้
 
1) รางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย
 
ประเภท "รางวัลเกียรติยศ"
 
(Toyota Thailand Foundation: Honorary Award)
 
เงินรางวัลสำหรับผู้แต่ง 150,000 บาทพร้อมโล่เกียรติยศ
 
ผลงานเรื่อง
 
"ตะวันออก-ตะวันตก ใครสร้างโลกสมัยใหม่"
 
โดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
 
 
คำประกาศเกียรติคุณ ผลงานเรื่อง "ตะวันออก-ตะวันตก ใครสร้างโลกสมัยใหม่" ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โดยคุณนิธิ เอียวศรีวงศ์
 
ความเข้าใจของคนไทยโบราณต่อสิ่งที่เรียกในปัจจุบันว่า "อารยธรรม" คือ "พระศาสนา" คำนี้มีความหมายถึงพระพุทธฌศาสนาเท่านั้น ไม่รวมลัทธิความเชื่ออื่นๆ อย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน ดังนั้นหากให้เล่าเรื่อง "อารยธรรม" คนโบราณจะเล่าการขยายตัวของพระพุทธศาสนา นับตั้งแต่กำเนิดไปจนถึงเมื่อพระศาสนาได้ไปตั้งมั่นในดินแดนต่างๆ
 
แต่ในการจัดการศึกษามวลชนในประเทศไทยนั้น ได้ตัดขาดวิทยาการแบบไทยออกไปโดยสิ้นเชิง ทำให้เมื่อต้องการจะเรียนรู้เรื่อง "อารยธรรม" นักวิชาการจึงไม่ได้ย้อนกลับไปคิดว่าคนไทยเคยมีความเข้าใจและทัศนะต่อสิ่งที่เรียกว่า "อารยะ" อย่างไร และจะผนวกความเข้าใจและทัศนะเช่นนั้นไว้ในเรื่องราวของมนุษยชาติทั้งโลกได้อย่างไร
 
ดังนั้นวิชาอารยธรรมที่สอนกันในมหาวิทยาลัยหรือแฝงเป็นนัยยะไว้ในระดับต่ำกว่านั้น จึงเป็นการลอกเลียนเนื้อหาของโลกตะวันตก ซึ่งมีเกณฑ์ความเข้าใจและทัศนะต่อสิ่งที่เรียกว่า "อารยะ" อีกอย่างหนึ่ง กลายเป็นเรื่องการสร้าง "อารยธรรม" ของโลกตะวันตกไปหมด โดยแทบจะไม่ได้เอ่ยถึงบทบาทของโลกตะวันออกในการก่อกำเนิด "อารยธรรม" ของปัจจุบันเลย
 
หนังสือของอาจารย์อเนก เหล่าธรรมทัศน์เล่มนี้ พยายามสร้างความสมดุลในการทำความเข้าใจกับ "อารยธรรม" แม้ไม่ได้มอง "อารยธรรม" จากมุมมองของไทยโบราณ แต่สมดุลในการศึกษาอารยธรรมมีความสำคัญ เพราะทำให้เราสามารถมองเห็นได้ว่า สิ่งที่สังคมตะวันตกได้บรรลุนั้นเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ยังมีทางเลือกที่ไม่ขัดต่อความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนที่เป็นไปได้อีกหลายทาง ซึ่งมนุษย์ได้เคยเลือกมาแล้ว
 
การศึกษาที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน คือ การศึกษาที่ให้ทางเลือกได้ไม่จำกัด และเพราะเหตุผลเท่านี้ ก็เพียงพอแล้ว ที่ผู้ใฝ่การศึกษาทุกคนจะต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
 

2) รางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย

 
ประเภท "ดีเด่น สาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์"
 
(Toyota Thailand Foundation : Social science & Humanity Award)
 
เงินรางวัลสำหรับผู้แต่ง 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
 
 
 
ผลงานเรื่อง
 
"การละครตะวันตกสมัยคลาสสิก –
 
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา"
 
โดย ศาสตราจารย์ กุลวดี มกราภิรมย์
 
 
คำประกาศเกียรติคุณ ผลงานเรื่อง "การละครตะวันตกสมัยคลาสสิก-สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา" ของ ศาสตราจารย์ กุลวดี มกราภิรมย์ เป็นตำราวิชาการที่มีคุณภาพ เพียบพร้อมด้วยเนื้อหาสาระ แสดงถึงความสามารถของผู้เขียนในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล และนำมาเรียงร้อยอย่างเป็นระบบ ผู้เขียนไม่ได้เพียงถ่ายทอดเรื่องราวของการละครตะวันตกแต่ละสมัยเท่านั้น แต่แสดงให้เห็นพัฒนาการของการละครตะวันตก ตั้งแต่สมัยคลาสสิก ถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยให้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง และศาสนา ทำให้ผู้อ่านเห็นความเปลี่ยนแปลง และความต่อเนื่องของการละครแต่ละสมัย
 
หนังสือ "การละครตะวันตกสมัยคลาสสิก – สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา" ของ ศาสตราจารย์กุลวดี มกราภิรมย์จึงสมควรแก่การยกย่อง และควรค่าแก่รางวัล TTF Award สาขามนุษยศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
 

3) รางวัลมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย

 
ประเภท "ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์"
 
(Toyota Thailand Foundation: Science)
 
เงินรางวัลสำหรับผู้แต่ง 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
 
ผลงานเรื่อง
 
"การฆ่าตัวตาย การรักษา และการป้องกัน"
 
โดย รศ. นพ. มาโนช หล่อตระกูล
 
คำประกาศเกียรติคุณ ผลงานเรื่อง "การฆ่าตัวตาย การรักษา และการป้องกัน" ของ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ มาโนช หล่อตระกูล โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ จำลอง ดิษยวณิช
 
เป็นหนังสือวิชาการที่ทำให้สังคมได้ทราบถึงเรื่องของการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย การฆ่าตัวตายโดยทั่วไปเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ และมองว่าน่าอับอาย เป็นเรื่องที่พบได้ค่อนข้างบ่อยตามหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อมวลชนอื่นๆ ความเข้าใจในเรื่องนี้จะนำไปสู่ความตระหนักรู้ของปัญหา รวมทั้งการป้องกันและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และสามารถทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลงได้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือองค์ความรู้ที่ได้จากหนังสือวิชาการเล่มนี้จะอำนวยคุณประโยชน์อย่างมากมาย ต่อบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำบัด นักศิลปกรรมบำบัด บุคลากรด้านสุขภาพจิต และสาธารณสุข เป็นต้น
 
มีการแสวงหาข้อมูลที่ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงจากแหล่งต่างๆ ที่ละเอียดและทันสมัย รวมทั้งการรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งของชาวไทย และชาวต่างประเทศจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการเสนองานวิจัย และประสบการณ์ทางคลินิกของผู้นิพนธ์ และคณะด้วย ผู้อ่านจะได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับระบาดวิทยาของการฆ่าตัวตาย ปัจจัยทางจิตสังคมของการฆ่าตัวตาย ปัจจัยทางชีวภาพของการฆ่าตัวตาย และอื่นๆ ตลอดจนการป้องกันและการรักษาปัญหาดังกล่าว มีการใช้สีประกอบภาพ คำอธิบายภาพ ตาราง และหัวข้อที่สำคัญในแต่ละบท เป็นหนังสือที่น่าอ่าน มีการใช้ภาษาที่ดี ชัดเจน และสื่อความหมาย มีการสรุปสาระสำคัญของแต่ละบททำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
 
อาจกล่าวได้ว่าเป็นหนังสือวิชาการเล่มแรกที่เป็นภาษาไทย และให้รายละเอียดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย การป้องกันและการรักษาที่ค่อนข้างสมบูรณ์
 
* หมายเหตุ : สาขาสิ่งแวดล้อม ไม่มีผลงานได้รับรางวัล
 
โดยหนังสือทั้ง 3 เล่มนั้น จะมีการวางจำหน่ายที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป
 
{phocagallery view=category|categoryid=207|limitstart=0|limitcount=0}

 


ตารางราคารถยนต์ล่าสุด

AUDI | Aston Martin | BMW | Chevrolet | CITROEN |  DFSKFerrari | Honda (ฮอนด้า) |