เทคโนโลยี i-Stop ของมาสด้า

เทคโนโลยี i-Stop ของมาสด้าสุดยอด 3 นักวิจัยมาสด้าคว้ารางวัลจากสมาคมวิศวกรรถยนต์แห่งประเทศญี่ปุ่น
ฮิโรชิมา – ประเทศญี่ปุ่น, 27 เมษายน 2553 – มาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า 3 นักวิจัยจากมาสด้าได้รับการยกย่องถึงความสำเร็จของผลงานด้านการวิจัย ในงานมอบรางวัลยอดเยี่ยมของสมาคมวิศวกรรถยนต์แห่งประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 60

โดยมีนักวิจัยจากมาสด้า จำนวน 2 ท่าน ได้รับรางวัลผลงานการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม อซาฮารา (Asahara Science Award) และยังมีนักวิจัยจากมาสด้าอีก 1 ท่าน ได้รับรางวัลการด้านการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมรถยนต์   สำหรับรางวัลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม อซาฮารา (Asahara Science Award) จะมอบให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีผลงานวิจัยที่โดดเด่น และได้รับการเผยแพร่ ในสาขาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมรถยนต์ และรางวัลการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมรถยนต์ จะมอบให้แก่นักวิจัย หรือทีมนักวิจัยที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเทคโนโลยีที่เป็นวิวัฒนาการใหม่สำหรับเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมรถยนต์
สำหรับเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับรางวัลการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมรถยนต์ดังกล่าวได้แก่ ”i-stop” หรือระบบ idling stop ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะจากมาสด้า นับตั้งแต่การเปิดตัว Mazda Axela ใหม่ ในประเทศญี่ปุ่น (หรือมาสด้า3 ในประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย) เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 โดยระบบ i-stop ได้รับการยกย่องอย่างแพร่หลายในด้านของการเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้รับรางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยมแห่งปี 2553 จากการประชุมกลุ่มนักวิจัยและผู้สื่อข่าวสาขาอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ Researchers & Journalists Conference of Japan และยังได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จากกระทรวงการจัดการพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism (MLIT) ซึ่งระบบ i-stop จะทำงานควบคู่กับเครื่องยนต์ไดเรกอินเจคชั่น (Direct Injection) ของมาสด้า ซึ่งสามารถช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างดีเยี่ยม และให้ความรู้สึกในการขับขี่ที่ดีเช่นเคย
สำหรับการมอบรางวัลในครั้งนี้จะจัดมีขึ้นในวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 ณ ศูนย์ประชุม Pacifico Yokohama Convention Center
รางวัลผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม อซาฮารา (Asahara Science Award)
ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล    การพัฒนาเทคโนโลยี ซิงเกิ้ลนาโนแคททัลลิศในกลุ่มโลหะแพลททินัม หรือ “Platinum   Group Metals (PGM) Single-nanocatalyst Technology”
ผู้รับรางวัล    เซจิ มิโยชิ   แผนกพัฒนาระบบส่งกำลัง มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการพัฒนาโครงสร้างของวัสดุเร่งปฏิกิริยา หรือ แคททัลลิศ โดยการใช้เทคโนโลยีแบบซิงเกิ้ลนาโน ซึ่งสามารถควบคุมโมเลกุลที่มีขนาดเล็กกว่าเทคโนโลยีนาโนทั่วไป จึงสามารถเพิ่มคุณสมบัติทางความร้อนของชิ้นส่วนที่ทำจากโลหะธรรมชาติราคาสูงที่ใช้ในชุดกรองไอเสียหรือ Catalytic converters   ผลความสำเร็จจากงานวิจัยยังสามารถพัฒนาซิงเกิ้ลนาโนแคททัลลิศ ที่ช่วยลดปริมาณการใช้โลหะธรรมชาติราคาสูง ในสัดส่วนที่น้อยลงถึง 70%
ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล    เทคนิคการลดเสียงรบกวนจากพื้นถนน หรือ “Absorption Technique for Road
Noise”
ผู้รับรางวัล        นาโอโกะ โยโรซุ    ศุนย์วิจัยทางด้านเทคนิค   มาสด้า  มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
วัสดุที่ใช้ดูดซับเสียงภายในห้องโดยสารรถยนต์ โดยทั่วไปไม่สามารถที่จะดูดซับเสียงรบกวนในความถี่ระดับกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น เสียงรบกวนที่มาจากพื้นถนน จากผลงานการวิจัยดังกล่าว ทำให้เกิดเทคนิคการดูดซับเสียงแบบใหม่ ที่ช่วยลดเสียงรบกวนจากพื้นถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการปรับปรุงคุณสมบัติพื้นฐานของวัสดุดูดซับเสียง เพื่อลดความเร็วของอนุภาคที่เคลื่อนที่ในวัสดุ ทั้งยังสามารถลดน้ำหนักของวัสดุดูดซับเสียงลงอีกด้วย   โดยคาดว่าวัสดุดูดซับเสียงใหม่ดังกล่าวจะถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
รางวัลการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมรถยนต์
ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล    ระบบการสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่หลังจากหยุดการทำงาน ในระบบ ”i-stop” เทคโนโลยีเฉพาะจากมาสด้า
ผู้รับรางวัล    เคนิชิโร ซารุวาทาริ แผนกการบริหารจัดการโครงการ มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
ระบบ ”i-stop” เป็นเทคโนโลยีเอกลักษณ์เฉพาะจากมาสด้า โดยระบบจะเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ เพื่อทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงเข้าในกระบอกสูบโดยตรงในขณะที่เครื่องยนต์หยุดทำงานและจุดระเบิดเพื่อทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงและสร้างแรงชักในลูกสูบ   และเพื่อเป็นการเพิ่มแรงให้สูงที่สุด ระบบ ”i-stop” ติดตั้งด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงที่สามารถควบคุมตำแหน่งของลูกสูบในขณะที่เครื่องยนต์หยุดทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่ามีอากาศสะอาดอยู่ภายในกระบอกสูบ ด้วยลักษณะดังกล่าวทำให้ระบบ ”i-stop” สามารถเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาเพียง 0.35 วินาที และยังให้ความรู้สึกในการขับขี่ที่ดีเช่นเคย โดยไม่เกิดเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือน
รายชื่อนักวิจัยจากมาสด้าที่ได้รับรางวัลจากสมาคมวิศวกรสาขารถยนต์แห่งประเทศญี่ปุ่น
2009    โมโทโนริ อิชิบาชิ  ได้รับรางวัลงานวิจัยยอดเยี่ยมในเรื่องการอธิบายลักษณะและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นตัวกำหนดรูปแบบและพฤติกรรมในการขับขี่รถยนต์ หรือ “Characterizing indices of driving style and their relevance to car following behavior.”
โคอิชิโร ฮาราดะ, ฮิโรชิ ยามาดะ, ฮิโรกิ ฟูจิตะ, เคนจิ โอคาโมโตะ และ อาคิฮิเดะ ทาคามิ ได้รับรางวัลการพัฒนาเทคโนโลยียอดเยี่ยมในเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพการเผาไหม้ของตัวเร่งปฏิกิริยาในเชิงอนุภาค ร่วมกับวัสดุที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า อิออนออกซิเจน (Development of a high-performance particulate burning catalyst with oxygen ion conductive materials)
2008    เคนจิ ซูซูกิ, โคอิชิโร ฮาราดา, ฮิโรชิ ยามาดะ, เคนจิ โอคาโมโตะ และ อาคิฮิเดะ ทาคามิ ได้รับรางวัลงานวิจัยยอดเยี่ยมในเรื่องการศึกษาปฏิกิริยาออกซิเดชันในอุณหภูมิต่ำ การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลในเชิงอนุภาค โดยออกแบบชิ้นส่วนจัดเก็บออกซิเจนที่ใช้ในการกรองอนุภาคตัวเร่งปฏิกิริยาของเครื่องยนต์ดีเซล
2007    ไดซูเกะ ชิโม ได้รับรางวัลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม อซาฮารา (Asahara Science Award) ในเรื่องการลดปริมาณไอเสียในเครื่องยนต์ดีเซลโดยการหมุนเวียนของไอเสีย Exhaust Gas Recirculation (EGR) และการทำให้อากาศไอดีเย็นตัวลง (Emission Reduction in Diesel Engines through Large-Scale Exhaust Gas Recirculation (EGR) and Intake Air Cooling)
ซึโทมุ ชิเกนากะ และ โทชิฮิโร โยชิดะ ได้รับรางวัลการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมรถยนต์ ในเรื่องการพัฒนาการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับวิธีการพ่นสีแบบ Uniformity Electrodeposition Paint ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Development and Commercialization of Environmentally Friendly High Uniformity Electrodeposition Paint)
2006    ทาเอโกะ ชิมิซุ ได้รับรางวัลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม อซาฮารา (Asahara Science Award) โดยได้รับการยกย่องถึงความสำเร็จของเขาที่ผ่านมาเป็นระยะเวลายาวนานและการพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ระบบไอเสียรถยนต์และเทคนิคการลดสสารที่เป็นอันตรายร้ายแรง
คัทซุยะ นิชิกุชิ, โทชิยูกิ เกนโดะ, เคนจิ ทาเกเซะม โยเฮ โชจิ และ คุนิฮิโกะ ทาโอะ ได้รับรางวัลการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมรถยนต์ ในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีการเชื่อมไอออน-อลูมิเนียมแบบสปอร์ตฟริคชั่น (Development of Iron-Aluminum Spot Friction Welding Technology)


ตารางราคารถยนต์ล่าสุด

AUDI | Aston Martin | BMW | Chevrolet | CITROEN |  DFSKFerrari | Honda (ฮอนด้า) |