เส้นทาง 50 ปี โตโยต้า “สู่สังคมไทยที่ยั่งยืน”

มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส และนายเอกชัย รัตนชัยวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทสไทย จำกัด ร่วมเสวนา “เส้นทาง 50 ปี โตโยต้า สู่สังคมไทยที่ยั่งยืน” เดินหน้ากิจกรรมส่งเสริมสังคม เตรียมพร้อมฉลองใหญ่ครบรอบ 50 ปี การดำเนินกิจการในประเทศไทย ที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เริ่มดำเนินกิจการในประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2505 ตลอดระยะเวลากว่า 47 ปี ได้ยึดมั่นปณิธานในการเจริญเติบโตเคียงคู่สังคมไทย ความพยายามในการมุ่งมั่นตอบแทนสังคมนับเป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่ง ดังเช่นคำขวัญที่ว่า “โตโยต้า ภูมิใจที่ได้เติบโตร่วมกับสังคมไทย”

มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่า “จากวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจของ มร.ซากิชิ โตโยดะ ผู้ก่อตั้งธุรกิจ โตโยต้า เมื่อกว่า 70 ปีที่ผ่านมา ในการร่วมส่งเสริมพัฒนาการของประเทศควบคู่ไปกับพัฒนาการของบริษัท ทำให้ตลอดระยะเวลากว่า 47 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โตโยต้า มุ่งเน้นในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เน้นหนักใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่

{phocagallery view=switchimage|basicimageid=188|switchheight=480|switchwidth=640}

1. ส่งเสริมความปลอดภัยบนท้องถนน ภายใต้โครงการ “ถนนสีขาว” เริ่มดำเนินโครงการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 22 ปี เพื่อมุ่งส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับกฏและวินัยจราจร และสร้างความตระหนักให้ผู้ใช้รถ ใช้ถนนมีจิตสำนึก และมีน้ำใจ อันจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักอย่างหนึ่งของบริษัทฯ มีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก และเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการดำเนินโครงการเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบกเพื่อจัดตั้ง “ศูนย์สอนขับรถและพัฒนาศักยภาพผู้ขับรถยนต์” ในปี พ.ศ. 2552 และในปีเดียวกันยังได้รับรางวัล “Prime Minister Road Award” ทางด้านองค์กรที่มีผลงานดีเด่นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน จาก ฯพณฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยเป็นรางวัลที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โตโยต้า เป็นบริษัทรถยนต์รายแรกที่ได้รับรางวัลนี้ เป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

{phocagallery view=switchimage|basicimageid=194|switchheight=480|switchwidth=640}

2. ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ “ป่านิเวศในโรงงาน” (Eco-Forest) เมื่อปี พ.ศ. 2551 ภายใต้แนวความร่วมมือจากอาสาสมัคร อาทิ ผู้บริหารระดับสูง ตัวแทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน ผู้แทนจำหน่าย บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน บริษัทในเครือ ชุมชนใกล้เคียง สื่อมวลชน พนักงานบริษัทและครอบครัวกว่า 10,000 คน ร่วมปลูกป่านิเวศน์กว่า 100,000 ต้น บนพื้นที่ 30 ไร่ ภายในบริเวณโรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ ภายใต้การให้คำแนะนำของ ศ.ดร.อาคิระ มิยาวากิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮาม่าและผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยานานาชาติประจำประเทศญี่ปุ่น โดยมุ่งเน้นการใช้พันธุ์ไม้พื้นเมืองดั้งเดิมของแต่ละพื้นที่ (Native Species) ช่วยร่นระยะเวลาการเจริญเติบโตของป่าไม้ธรรมชาติให้เร็วขึ้นนับสิบเท่า และได้ขยายโครงการสู่บริษัทในเครือ ผู้ผลิตชิ้นส่วน และผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ ทำให้โรงงาน โตโยต้า บ้านโพธ์ ได้รับรางวัล “การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพดีเด่น” ด้านระบบนิเวศป่าไม้ จากการเข้าร่วมโครงการประกวดภาคธุรกิจ ที่ดำเนินการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพดีเด่นซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินโครงการ “ป่านิเวศในโรงงาน” (Eco-forest) และ “แหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศวิทยา” (Biotope) จาก ฯพณฯสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2552

{phocagallery view=switchimage|basicimageid=191|switchheight=480|switchwidth=640}

3. ส่งเสริมการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคมไทย โดยนอกจากการสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ยังได้ให้การสนับสนุนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมอบห้องปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ พร้อมพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน มอบเครื่องยนต์เพื่อเป็นสื่อการสอน รวมทั้งจัดผู้บริหารเข้าไปเป็นอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ และยังมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีของโตโยต้า ผ่านโครงการ T-TEP หรือ Toyota Technical Education Program เพื่อสร้างบุคลากรทางด้านยานยนต์ โดยในปี พ.ศ.2553 ได้ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน “ช่างเทคนิคยานยนต์ทั่วไป” (General T-TEP) และ “ช่างซ่อมตัวถังและสีรถยนต์” (BP-T-TEP) ต่อมาในปี พ.ศ.2550 ได้ขยายความร่วมมือไปสู่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกระทรวงแรงงาน เพื่อพัฒนาหลักสูตร “ช่างซ่อมตัวถังและสีรถยนต์” (BP-T-TEP) และล่าสุดในปีนี้ได้ขยายความร่วมมือเพื่มขึ้นเพื่อพัฒนาหลักสูตร “ช่างซ่อมบำรุง” (General T-TEP)

{phocagallery view=switchimage|basicimageid=192|switchheight=480|switchwidth=640}

4. ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของชุมชน ภายใต้การดำเนินงานของ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในวาระครอบรอบ 30 ปี ของการดำเนินกิจการในประเทศไทย ด้วยเงินทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 30 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 400 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2546 โดยนำดอกผลที่ได้รับจากทุนจดทะเบียน มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 17 ปี ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษา ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้การสนับสนุนองค์กรสาธารณกุศล ในการดำเนินกิจกรรมอันเป็นสาธารณประโยชน์ให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทห่างไกล

นอกจากนี้ยังได้สนองกระแสพระราชดำรัสในการก่อตั้ง “โรงสีข้าวรัชมงคล” ในปี พ.ศ. 2542 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เป็นประธานในพิธีอย่างเป็นทางการ ดำเนินกิจการภายใต้วัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ ช่วยเหลือเกษตรกรด้วยวิธีการรับซื้อข้าวเปลือกในราคาที่เป็นธรรม –ช่วยเหลือผู้บริโภคด้วยการขายข้าวสารในราคาที่เหมาะสม –และดำเนินกิจการโดยมิได้หวังผลกำไรทางธุรกิจเป็นสำคัญ อันเป็นการน้อมนำแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” มาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

{phocagallery view=switchimage|basicimageid=190|switchheight=480|switchwidth=640}

นอกจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องแล้ว โตโยต้า ยังได้ดำเนินงานภายใต้หลักบรรษัทภิบาล และหลัก 7 ประการของ CSR (Corporate Social Responsibility) ได้แก่

1. กำกับดูแลองค์กรอย่างโปร่งใส และตรวจสอบได้ (Good governance) มีช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสำหรับพนักงาน

2. เคารพในหลักสิทธิมนุษยชน (Human rights) บูรณาการแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนไว้ในระเบียบปฏิบัติของพนักงาน

3. ปฏิบัติด้านแรงงานสัมพันธ์อย่างเท่าเทียม และเหมาะสม (Labor practice) ได้รับการรับรองมาตรฐาน มรท./SA8001 และ OHSAS 18001

4. ดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและชุมชน (Environment) ดำเนินงานสอดคล้องตามกฏหมายสิ่งแวดล้อม และระบบ ISO 14001

5. ดำเนินงานอย่างเป็นธรรม (Fair operation practice) กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่น และปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเป็นธรรม

6. มุ่งมั่นนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภค (Customer issue) ให้ความสำคัญต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์และการบริการ ให้ข้อมูลอย่างครอบถ้วน

7. มีส่วนร่วมในการัฒนาชุมชน (Community involvement and development) เน้นด้านการศึกษา วัฒนธรรม สร้างรายได้ การจ้างงานในท้องถิ่น และการพัฒนาคุณภาพชีวิต

นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามข้อกำหนดตามหลักบรรษัทภิบาล ทำให้ โตโยต้า เป็นบริษัทรถยนต์แห่งแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน การปฏิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบ ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม หรือ Standard for Corporate Social Responsibility: CSR-DIW ครบทั้ง 3 โรงงาน ได้แก่ โรงงานประกอบรถยนต์สำโรง จ.สมุทรปราการ ในปี พ.ศ.2551 โรงงานประกอบรถยนต์เกตเวย์ และโรงงานประกอบรถยนต์ บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ.2552”

นายวุฒิกร กล่าวาต่อไปว่า “ในโอกาสที่ โตโยต้า กำลังเดินหน้าสู่การฉลองครบรอบวาระการดำเนินงานในประเทศไทยครบ 50 ปี เราจะเน้นการดำเนินกิจกรรม CSR ทั้งที่อยู่ในกระบวนการการทำงาน และ CSR ที่อยู่นอกกระบวนการการทำงาน โดยจะเป็นการทำ CSR แบบบูรณาการครบห่วงโซ่ธุรกิจ หรือ Integrated CSR across Value Chain ซึ่ง CSR ภายในองค์กรจะถูกกำหนดลงไปในทุกกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบเข้ามายังโรงงาน การผลิต การส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้า การขาย ตลอดจนการให้บริการหลังการขาย และเรายังส่งเสริมให้เครือข่ายธุรกิจ อันได้แก่บริษัทในเครือ ผู้ผลิตชิ้นส่วน ตลอดจนผู้แทนจำหน่าย ซึ่งมีเครือข่ายคลอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม CSR ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการเดินไปข้างหน้าเคียงคู่พัฒนาการอันยั่งยืนของสังคมไทย สมดังปณิธานใหม่ ที่จะมาใช้นับจากนี้เป็นต้นไปว่า…

“อนาคตสังคมไทย ความภูมิใจของเรา”

{pgslideshow id=74|width=640|height=480|delay=3000|image=L}


ตารางราคารถยนต์ล่าสุด

AUDI | Aston Martin | BMW | Chevrolet | CITROEN |  DFSKFerrari | Honda (ฮอนด้า) |