ยางแท่นเครื่อง-แท่นเกียร์ ดูแลยังไง

รถยนต์ ขับเคลื่อนล้อหน้าซึ่งมีอยู่เต็มถนน ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์วางขวาง มียางแท่นเครื่อง และยางแท่นเกียร์เป็นตัวยึดเข้ากับตัวถังหรือซับเฟรม ปัญหาที่หนีไม่พ้น คือ การหมดสภาพ แต่ก็ยังมีข้อสงสัยกันว่า “เมื่อไร หมดสภาพ ดูกันตามปีหรือระยะทาง” “จะมีอาการให้เราทราบได้อย่างไร” “เปลี่ยนอย่างไรให้คุ้มค่าเงิน หรือต้องเข้าศูนย์บริการเท่านั้น” 

ทำไมต้องมี
เครื่องยนต์ มีการสั่นสะเทือนตลอดการทำงาน ทั้งตอนเดินเบา ออกตัว เร่ง และเบรก หลายผู้ผลิตพยายามลดอาการนี้ด้วยวิธี เช่น การออกแบบชิ้นส่วนให้มีน้ำหนักเบา
ที่พบกันบ่อย ๆ คือ ใช้เพลาถ่วงให้สมดุล โดยใช้เพลา 2 แท่งที่ไม่ได้สมดุลในตัวเอง ติดตั้งประกบข้อเหวี่ยงอยู่ภายในเสื้อสูบ หมุนเข้าหากันเพื่อหักล้างแรงสั่นสะเทือน แต่สุดท้ายก็ยังหนีไม่พ้นแรงสั่นตลอดการทำงาน
รถยนต์ ขับเคลื่อนล้อหน้าแบบเครื่องยนต์วางขวาง นอกจากจะมีอาการสั่นสะเทือนจากภายในเครื่องยนต์แล้ว ยังมีอาการสั่นจากภายนอกอีกด้วย เพราะในการออกตัวหรือการเบรก เครื่องยนต์จะโย้ไป-มา หน้า-หลัง ตามแรงบิดของเครื่องยนต์ และน้ำหนักที่ถ่ายเท ซึ่งเครื่องยนต์ และเกียร์มีน้ำหนักรวมกันเป็นร้อย ๆ กิโลกรัม
ความ สั่นสะเทือนไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นที่ต้องการ ผู้ผลิตรถยนต์จึงต้องพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เมื่อนั่งอยู่ในห้องโดยสารแล้ว จะได้ไม่รำคาญ และยึดทางออกนี้เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันมานาน คือ ใช้วัสดุที่มีความนิ่ม ติดตั้งคั่นระหว่างเครื่องยนต์+เกียร์ กับตัวถังรถยนต์
ส่วน ใหญ่ที่ใช้กันอยู่ เป็นยางสังเคราะห์ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม คือ นิ่มพอจะช่วยลดแรงสั่นสะเทือน แต่ไม่นิ่มเกินไป จนทำให้เครื่องยนต์และเกียร์โย้มากจนเกินไป สรุปง่าย ๆ คือ ไม่แข็งจนกระด้าง และไม่นิ่มจนโย้ง่ายนั่นเอง
 
เครื่องยนต์วางขวาง ขับเคลื่อนล้อหน้า 4 จุดยึด
เป็น รูปแบบที่นิยมในรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าส่วนใหญ่ มีเพียงไม่กี่ยี่ห้อที่วางเครื่องยนต์ตามยาวเหมือนรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง แต่ขับเคลื่อนล้อหน้า เช่น ออดี้ ซูบารุ ฯลฯ
เครื่องยนต์ ติดตั้งเป็นแนวเดียวกับเกียร์ ในเกียร์มีชุดเฟืองท้ายรวมอยู่ ไม่มีเพลากลาง มีเพลาข้างเสียบอยู่กับเกียร์ และดุมล้อซ้าย-ขวา
โดยทั่วไป เครื่องยนต์และเกียร์จะมี 4 จุดยึดเข้ากับตัวถังหรือซับเฟรม และใช้ยางสังเคราะห์สีดำเป็นไส้ในติดตั้งคั่นอยู่ ทำหน้าที่ให้ความยืดหยุ่น มีบางรุ่นเท่านั้นที่บางจุดเป็นกระเปาะไฮดรอลิก ใช้ความหนืดของน้ำมันช่วยลดความสั่นสะเทือน ซึ่งดีกว่า และแพงกว่าแบบยางล้วน ๆ
แท่นยางเหล่านี้เรียกว่า “ยาง แท่นเครื่อง ยางแท่นเกียร์” ตามตำแหน่งที่ยึดติดอยู่ ว่ายึดติดอยู่กับเกียร์หรือเครื่องยนต์ แต่บางครั้งก็เรียกว่ายางแท่นเครื่องรวมไปเลยทั้งยางแท่นเครื่องและยางแท่น เกียร์
ยางแท่นเครื่อง 4 จุด ติดตั้งไว้ 4 มุมตรงกันข้ามกัน (อาจเยื้องกันบ้าง) แบ่งการทำหน้าที่ชัดเจน คือ ติดตั้งด้านหน้ารถยนต์บริเวณใกล้หม้อน้ำ ป้องกันการกระดกหน้า อีกตัวติดตั้งบริเวณใกล้ผนังห้องเครื่องยนต์ ป้องกันการกระดกหน้า อีก 2 ตัว ติดตั้งใกล้ซุ้มล้อแถว ๆ หัวเครื่องยนต์ (ขนาดใหญ่หน่อย) และหิ้วปลายเกียร์ ทำหน้าที่ป้องกันการเซซ้าย-ขวา พร้อมทั้งช่วยเสริมการป้องกันการกระดกหน้า-หลังบ้าง
 
3 วัสดุ
ในปัจจุบัน มีแท่นเครื่องที่เป็นยางล้วน กระเปาะน้ำมันไฮดรอกลิก และไฮเทคสุดกับกระเปาะน้ำมันฯคุมด้วยไฟฟ้า ไล่ระดับราคาจากถูกไปแพง
แบบยาง– ยางแท่นเครื่องส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่กว่า 90%ื ผลิตจากยางสังเคราะห์สีดำ ไม่เป็นแท่งตัน มีเว้ามีแหว่งหรือเว้นช่องในบางส่วนเพื่อไม่ให้แข็งเกินไป เป็นทรงกระบอกเตี้ย การติดตั้งมักเป็นแบบตะแคง เหมือนตั้งสันเหรียญไว้กับพื้น
คุณสมบัติ ที่ต้องมี คือ เป็นตัวกลางช่วยซึมซับแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์ให้เหลือสู่ตัวถังน้อย ที่สุด ดังนั้น ยางแท่นเครื่องจึงต้องมีความแข็งพอประมาณ แข็งเกินไปก็สั่น นิ่มเกินไปก็โย้และขาดง่าย แต่สุดท้าย เมื่อผ่านการใช้งานไป ก็จะค่อย ๆ ยุบ ยืด ย้วย ร้าว ปริ และขาดในที่สุด
แบบกระเปาะน้ำมันไฮดรอลิก– เหนือชั้นขึ้นมาจากยางล้วน ๆ ผลิตจากโลหะ และมีส่วนที่เป็นยางกลวง บรรจุน้ำมัน ใช้ทั้งน้ำมันและยางซึมซับแรงสั่นสะเทือน มักเป็นทรงกระบอกแนวตั้ง เมื่อผ่านการใช้งานไปจะยุบย้วย และน้ำมันรั่วในที่สุด มีใช้ในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ หรือรุ่นใหญ่ เพราะมีต้นทุนส่วนนี้แพง และไม่จำเป็นนักสำหรับเครื่องยนต์ขนาดเล็กที่มีแรงสั่นสะเทือนไม่มาก
แบบไฮเทคคุมด้วยไฟฟ้า– พัฒนาเหนือชั้นขึ้นมาอีกขั้นจากกระเปาะน้ำมันไฮดรอลิก ควบคุมการยืดหยุ่นด้วยไฟฟ้า ปรับความแข็งอ่อนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ เท่าที่พบ เป็นการใช้ไฟฟ้าควบคุมมอเตอร์ขนาดเล็กหรือโซลินอยด์วาล์ว ทำการหรี่ขนาดของรูที่น้ำมันไฮดรอกลิกให้ไหลไปมายาก หรือง่าย คล้ายกับโช้กอัพที่ปรับความหนืดด้วยไฟฟ้า มีรถยนต์น้อยรุ่นที่นำมาใช้ แต่ในอนาคตก็คงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเริ่มมีต้นทุนต่ำลง ได้ผลลดการสั่นสะเทือนได้ดี และไม่ได้ใช้ครบ 4 ตัวในรถยนต์ 1 คัน แต่มักจะใช้ตัวเดียว เช่น ตัวหน้าใกล้กับหม้อน้ำ ป้องกันการกระดกหน้า-หลังของเครื่องยนต์
 
เมื่อไรเสีย
ไม่มี การกำหนดเป็นระยะทาง เสียเมื่อทรุดตัวมาก ปริ ร้าว หรือขาด ต้องแล้วแต่ลักษณะการขับว่ากระชากกระชั้น ออกตัว และเบรกบ่อยและแรงหรือไม่ รถยนต์รุ่นเดียวกัน ยางแท่นเครื่องอาจหมดอายุที่ระยะทางต่างกันก็เป็นได้ โดยทั่วไป ยางแท่นเครื่องคุณภาพดี ๆ น่าจะใช้งานได้เกิน 50,000 กิโลเมตรขึ้นไป
 
ดูอย่างไรเมื่อเสีย
สายตา ดู หรือพรอ้มกับโยกเครื่องยนต์ไปด้วย การดูรอยร้าวรอยปริของยางแท่นเครื่อง บางตำแหน่งอาจสอดส่องมองสภาพได้สะดวก บางตำแหน่งต้องยกรถยนต์รอย มองเข้าไปยาก บางตำแหน่งต้องให้ช่างมุดลอดเข้าไปดู บางตำแหน่งต้องถอดออกมาดูถึงจะแน่ใจ
นอกจาก การดูที่ตัวยางแท่นเครื่องโดยตรง แล้วยังสามารถใช้วิธีจับอาการจากอาการกระตุหรือกระชากของเครื่องยนต์เมื่ออก ตัว เปลี่ยนเกียร์ หรือเบรก ถ้ายืดมากหรือขาด ก็จะมีอาการกระชากให้รู้สึกเข้ามาถึงห้องโดยสารได้มาก
ถ้าไม่เปลี่ยน ไม่อันตรายในการขับ แต่จะส่งผลให้ยางแท่นเครื่องตัวอื่นเสียตามไปด้วย เพราะมีกรขยับตัวได้มากเกินไปนั่นเอง
 
เปลี่ยนที่ไหน
การ เปลี่ยนยางแท่นเครื่อง ไม่นับเป็นงานซับซ้อน และไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าแต่ศูนย์บริการเท่านั้น สามารถเปลี่ยนตามอู่ทั่วไปได้ ค่าแรงจุดละ 200-400 บาท แล้วแต่ความยากง่าย บางจุด 15 นาที เสร็จ บางจุดเป็นชั่วโมง เพราะต้องถอดหลายอุปกรณ์อื่นด้วย ไม่ต้องกังวลว่าจะติดตั้งแล้วเอียง เพราะมีรูน็อตตายตัว ใส่เยื้องไม่ได้
 
มีตัวเลือกหรือไม่
หลาย คนยึดติดว่าอะไหล่ต้องเป็นของแท้เท่านั้น ต้องซื้อจากศูนย์บริการเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริง บริษัทรถยนต์แทบจะไม่เคยผลิตอะไหล่อะไรเลย สั่งมาในราคาถูก ๆ แล้วมาขายแพง ๆ ทั้งนั้น โดยยางแท่นเครื่อง มี 3 ตัวเลือก คือ ใหม่แท้ ใหม่เทียบ และเก่าเชียงกง ซึ่งต่างกันทั้งในเรื่องของราคา คุณภาพ อายุการใช้งาน และความสะดวกในการซื้อหา
ใหม่แท้– ซื้อจากศูนย์บริการหรือผ่านร้านอะไหล่ คุณภาพดีแน่นอน ไม่ต้องลุ้น แต่แพงแน่นอนเช่นกัน ราคามักเกิน 500 บาทต่อตัว ไปจนถึงหลายพันบาท รวม 4 ตัวส่วนใหญ่เกิน 5,000 หรือเกิน 10,000 บาทก็ยังมี
ใหม่เทียบ– หรือมักเรียกกันว่าของเทียม ซื้อได้ตามร้านอะไหล่ทั่วไป รถยนต์ยุโรปจะมีอะไหล่เทียบยี่ห้อดัง ๆ คุณภาพดี ๆให้ซื้อ บางครั้งเป็นยี่ห้อเดียวกับที่ผลิตส่งให้บริษัทรถยนต์ และอาจจะมียี่ห้อเล็ก ๆ ให้เลือกด้วย
สำหรับ ยางแท่นเครื่องของรถยนต์ญี่ปุ่นแบบเทียบใช้ ส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อไม่ดัง คุณภาพต่ำตามราคาที่สุดถูก สำหรับตัวที่อัดเปลี่ยนเฉพาะไส้ได้ ตัวละแค่ 100 กว่าบาทเป็นส่วนใหญ่ แพงหน่อยก็ 200-300 บาท ถ้าเป็นตัวใหญ่แบบสำเร็จรูปก็ตัวละแถว ๆ 500 บาท
 


ตารางราคารถยนต์ล่าสุด

AUDI | Aston Martin | BMW | Chevrolet | CITROEN |  DFSKFerrari | Honda (ฮอนด้า) |