ครบรอบ 10 ปี โครงการ “โตโยต้าปลูกป่านิเวศ” โตโยต้าเมืองสีเขียว รวมพลังจิตอาสา ปลูกต้นไม้ครบ 1,350,000 ต้น

“โตโยต้าปลูกป่านิเวศ” (Eco-Forest)

“โตโยต้าปลูกป่านิเวศ” (Eco-Forest) รวมพลังจิตอาสา ปลูกต้นไม้ครบ 1,350,000 ต้น

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นำคณะผู้บริหารของบริษัทฯ พร้อมด้วย พนักงานโตโยต้าจิตอาสา สมาชิก Toyota CSR Facebook และ สมาชิก Toyota Group Environment Network กว่า 200 คน ร่วมกิจกรรมครบรอบ 10 ปี “โตโยต้าปลูกป่านิเวศ” (Eco-Forest) ภายใต้โครงการ “โตโยต้าเมืองสีเขียว..เพื่อธรรมชาติ เพื่อทุกชีวิต” ทำการปลูกต้นไม้ครบ 1,350,000 ต้น ในระหว่างวันที่ 3 – 4 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ณ โรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 

“โตโยต้าปลูกป่านิเวศ” (Eco-Forest)

 

จาก “พันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า พ.ศ. 2593” ที่มีเจตนารมณ์ในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้เติบโตควบคู่กันไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จึงได้มุ่งมั่นในการดำเนินงานในทุกกระบวนการอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ สร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทย ผ่านกิจกรรมต่างๆภายใต้โครงการ “โตโยต้า เมืองสีเขียว…เพื่อธรรมชาติ เพื่อทุกชีวิต” โดยมีวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น เมืองสีเขียว เพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของชุมชนเมือง

“โตโยต้าปลูกป่านิเวศ” (Eco-Forest)

กิจกรรม “โตโยต้าปลูกป่านิเวศ” (Eco-Forest) ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการ “โตโยต้าเมือง สีเขียว..เพื่อธรรมชาติ เพื่อทุกชีวิต” ที่ได้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 เริ่มต้นจากการปลูกป่าภายในบริเวณโรงงานบ้านโพธิ์ จำนวนกว่า 100,000 ต้น ครอบคลุมพื้นที่กว่า 30 ไร่ และมีการเจริญเติบโตเต็มที่ตามธรรมชาติ จนกลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ เกิดเป็นความหลากหลายทางชีวภาพของทั้งพืชและสัตว์ ที่มาอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของโรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์ และได้ยกระดับสู่การเป็น ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” ที่ปัจจุบันได้เปิดให้บรรดานักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชมกว่า 15,000 คนต่อปี

สำหรับกิจกรรมครบรอบ 10 ปี “โตโยต้าปลูกป่านิเวศ” ในครั้งนี้ ทางโตโยต้าได้จัดให้มีกิจกรรมปลูกป่านิเวศเพิ่มเติมภายในบริเวณโรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ จำนวน 10,000 ต้น โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโตโยต้าฯ พนักงานโตโยต้าจิตอาสา สมาชิก Toyota CSR Facebook และ สมาชิก Toyota Group Environment Network เข้าร่วมกิจกรรม ภายในงานมีการบรรยายเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการฯตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนหลักการปลูกป่าตามแนวคิดของ ศ.ดร. อาคิระ มิยาวากิ ผู้เชี่ยวชาญการปลูกป่านิเวศจากประเทศญี่ปุ่น จากนั้นจึงได้ให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนลงพื้นที่เพื่อร่วมกันปลูกต้นไม้ โดยเป็นกล้าไม้ท้องถิ่น 34 สายพันธุ์ มีพันธุ์ไม้หลักคือ ต้นยางนา และ ต้นตะเคียนทอง รวมถึงพันธุ์ไม้ท้องถิ่นอื่นๆ เช่น ต้นไทร ต้นหว้า และต้นพะยอม เป็นต้น

 

ทั้งนี้ ผู้ร่วมกิจกรรมยังได้มีโอกาสเดินเยี่ยมชม ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ”ที่ในปัจจุบันได้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ รวมถึงสัตว์พันธุ์หายากที่เข้ามาเติมเต็มระบบนิเวศให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิเช่น นกกระจาบทอง ซึ่งเป็นพันธุ์นกที่เคยอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รอบโรงงานบ้านโพธิ และเป็นพันธุ์นกหายากที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อยู่ในบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุมคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หรือ The IUCN Red List of Threatened Species อีกด้วย

“โตโยต้าปลูกป่านิเวศ” (Eco-Forest)

นอกจากนี้ โตโยต้ายังได้ขยายผลกิจกรรมปลูกป่านิเวศไปสู่ชุมชมและเครือข่ายของโตโยต้าทั่วประเทศ โดยร่วมกับผู้แทนจำหน่ายฯ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน และหน่วยงานต่างๆ โดยการนำองค์ความรู้ด้านการปลูกป่าไปเผยแพร่ให้แก่หน่วยงานและอาสาสมัครที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงติดตามผลและให้คำแนะนำในการดูแลรักษาผืนป่าที่ปลูกขึ้น ซึ่งจนถึงปัจจุบัน บริษัท โตโยต้าฯ ได้ดำเนินกิจกรรมการปลูกป่านิเวศไปแล้วทั้งสิ้น 1,350,000 ต้น มีอัตราการรอดตายของต้นกล้าสูงถึงร้อยละ 90 ซึ่งนอกจากจะมีส่วนช่วยในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ราว 10,800 ตัน* ต่อปี ยังถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นเมืองสีเขียวอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต


ตารางราคารถยนต์ล่าสุด

AUDI | Aston Martin | BMW | Chevrolet | CITROEN |  DFSKFerrari | Honda (ฮอนด้า) |



Warning: First parameter must either be an object or the name of an existing class in /home/iamadmin/domains/iamcar.net/public_html/wp-content/themes/iamcar/template-parts/content-single.php on line 79