เทคนิครถยนต์ : พัฒนาการความแรงครั้งใหม่ของค่าย Honda จาก i-VTEC สู่ความแรงศักราชใหม่ VTEC Turbo

จากระบบ i-VTEC ที่คุ้นเคย ผ่านวิวัฒนาการหลายเจนเนอเรชั่น สู่ปฐมบทความแรงยุคใหม่จากค่าย Honda กับขุมพลัง VTEC Turbo ที่หลายคนยังมีคำถามค้างคาใจ จนทำให้เราคิดว่าน่าจะดีหากมีอะไรมาเล่าให้ฟัง

จุดเริ่มแห่งวิวัฒนาการ

นับแต่ก้าวแรกแห่งความแรงกับเครื่องยนต์ “แคมกระดิก” ที่เรียกว่า VTEC (Variable Valve Timing And Valve Lift Electronic Control System) ที่มากับหลักการสร้างความแรงแบบง่ายๆ ด้วยสูตร “วาล์วเปิดน้อย-อากาศเข้าน้อย” ถ้า “วาล์วเปิดมาก-อากาศเข้ามาก” ของเครื่องยนต์ตระกูล B-Series ที่ดูเหมือนจะมีอัตราการบริโภคน้ำมันสวนกระแส “ยุคน้ำมันแพง”

 

ทำให้เกิดการพัฒนาสู่เจนเนอเรชั่นที่ 2 ในชื่อ VTEC-E ที่เน้นการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น โดยอาศัยหลักการทำงานคล้ายๆ กัน เพื่อสร้างความสมดุลย์ที่ดีขึ้นระหว่าง “ การประหยัด และสมรรถนะความแรง ” จนกระทั่งมาสู่ยุคใหม่ของ “ความฉลาด” ด้วยระบบ   i-VTEC ที่สร้างความสมบูรณ์แบบ “ทั้งความแรง และประหยัด” ด้วยการเพิ่มระบบ VTC-Variable Timing Control เข้ามา “ควบคุมองศาแคมแชฟท์” ฝั่งไอดี ซึ่งอัพเกรดให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่าง “ฉลาด” มากขึ้นอีกระดับ

 

ปฐมบทแห่ง VTEC Turbo

แต่นั่นคือเรื่องราวจากยุคก่อนที่ Honda จะก้าวสู่ความแรงครั้งใหม่ด้วยเครื่องยนต์ VTEC Turbo ที่อยู่ใน Honda Civic รุ่นล่าสุด ซึ่งหลายคนยังคง “สงสัย” กันว่ามันยังไงกันแน่ … !!! และยังมีสิ่งที่เราคุ้นเคยกันมาจากยุคอดีตหรือไม่ … ?

 

สำหรับเครื่องยนต์ VTEC Turbo นั้นแท้จริงแล้ว จะมีเพียงระบบ VTC-Variable Timing Control  จากยุคเครื่องยนต์          i-VTEC เท่านั้น ในการทำหน้าที่ “แปรผันองศาแคมชาฟท์” ทั้งฝั่งไอดี และไอเสีย เพื่อควบคุมวาล์เปิด – ปิด เท่านั้น โดยไม่มีระบบ VTEC ที่เราคุ้นเคยกับลูกเบี้ยวองศาสูงเหมือนเครื่องยนต์ B และ H-Series

 

VTEC Turbo

 

เพราะด้วยระบบ VTC ที่มากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้การควบคุมด้วยกล่อง ECU นั้นมีความสามารถเพียงพอ และครอบคลุมในการทำหน้าที่ “แปรผันองศาแคมชาฟท์” เพื่อสั่งเปิด-ปิดวาล์วไอดี และไอเสีย ให้สามารถเปิด – ปิดในได้ช่วงเวลาที่ต้องการ และเหมาะสมกับทุกรอบความเร็วเครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องยนต์ส่งกำลังตอบสนองได้ตามต้องการ โดยมีระบบอัดอากาศ Turbocharged เสริมความแรงเข้าไปอีกขั้นเท่านั้นเอง

 

ส่วนคำถามที่ว่า “ในเมื่อไม่มีระบบ VTEC แล้ว ทำไมถึงยังเรียกว่า VTEC ล่ะ” ซึ่งคำตอบของคำถามที่ว่ามาก็ง่ายๆ ครับ เพราะหน้าที่การทำงานของระบบนี้ คือ “ควบคุมระบบวาล์วแปรผัน” ของเครื่องยนต์ เพราะฉะนั้นจึงไม่ผิดที่จะใช้ชื่อว่า VTEC เพราะท้ายที่สุดก็คือ “หลักการทำงานแบบเดียวกัน” เพียงแต่เราเองต้องพยายามทำความเข้าใจ และศึกษาว่าเครื่องยนต์แต่ละรุ่นทำหน้าควบคุมวาล์วแปรผันในรูปแบบไหนก็เท่านั้นเอง


 

บทความแนะนำเกี่ยวกับ เทคนิคการขับขี่รถยนต์

เทคนิครถยนต์ : เทคนิคการขับขี่รถยนต์ เกี่ยวกับ Paddle Shift ระบบปรับเปลี่ยนเกียร์ อัจฉริยะในเกียร์อัตโนมัติ

เทคนิครถยนต์ : เทคนิคการขับขี่รถยนต์ เกี่ยวกับ Sequential Shifter ระบบเกียร์ที่เเม่นยำเเละรวดเร็วที่สุด

เทคนิครถยนต์ : เทคนิคการขับขี่รถยนต์ เกี่ยวกับ VVT-i ระบบการทำงานอัจฉริยะของเครื่องยนต์ TOYOTA